การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยกลยทธางการตลาดปี 2567 ผลกดนไทยเติบโตทางการท่องเที่ยว ประกาศเร่งฟื้นฟูสู่บทตอไปที่ดีขึ้น (Moving forward to Better) ในทุกมิติ ดวยหลักของการสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีคุณค่า สมดุลและยั่งยืน พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว ก้าวสู่ High Value and Sustainable Tourism แท้จริง มั่นใจป้นรายได้สูงสุด 3 ล้านล้านบาท
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. ร่วมแถลงทิศทาง การส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว ปี 2567 ประกาศเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยสู่บทต่อไปที่ดีขึ้น (Moving forward to Better) ทั้งฝั่ง Supply และ Demand ด้วยหัวใจหลักของการสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีคุณค่า สมดุลและยั่งยืน พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว ก้าวสู่ High Value and Sustainable Tourism อย่างแท้จริง มั่นใจฟื้นรายได้สูงสุด 3 ล้านล้านบาท เทียบเท่าปี 2562 โดยได้รับเกียรติจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยนายอารัญ บุญชัย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และคณะกรรมการ ททท. รวมถึงภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เข้าร่วมงาน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2567 ถือเป็นปีแห่งการเร่ง “ฟื้นฟู” (Resilience) พร้อมพลิกโฉมสู่ High Value and Sustainable Tourism ที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน ททท. จึงได้ยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ ททท. แบบ Moving forward to Better เดินหน้าต่อเนื่องสู่ก้าวต่อไปของการท่องเที่ยวไทยที่ดียิ่งขึ้น โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างระบบนิเวศทางการท่องเที่ยวใหม่ New Ecosystem ด้วยการลดการพึ่งพานักท่องเที่ยวจำนวนมาก สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง พัฒนาห่วงโซ่อุปทานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมฯ ให้พร้อมรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ รวมทั้งกระจายรายได้สู่ฐานรากอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งมิติความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ มิติสังคมอยู่ดีมีสุข มิติสิ่งแวดล้อมที่ดี และมิติภูมิปัญญา
อีกหนึ่งในความพยายามของ ททท. คือ การสร้าง“ความมั่นคงทางการท่องเที่ยว” หรือ Tourism Security เพื่อให้มั่นใจว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะเติบโตอย่างเข้มแข็ง “ล้มให้เป็น” “ลุกให้ไว” และ “ไปต่อ” อย่างมีภูมิคุ้มกันระยะยาว สามารถเผชิญวิกฤติเชิงซ้อน (Polycrisis) ที่เกิดขึ้นได้ จึงมุ่งมั่นเสริมทัพด้วย 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานบนพื้นฐานของคุณภาพและความยั่งยืน สอดรับกับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 2) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว เอื้อต่อการเดินทางอย่างสะดวกและปลอดภัย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี มีคุณค่าอย่างเท่าเทียม ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ 3) ใช้ประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนสู่โลกดิจิทัล เพิ่ม Digital Literacy ลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เน้นการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน และสุดท้าย 4) ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงภายนอก อย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2567 ททท. จะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสานต่อการ “สร้างประสบการณ์ทรงคุณค่า” เพื่อส่งมอบให้กลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีความต้องการแตกต่างกัน โดยคำนึงถึง Sub-culture Movement และ Partnership 360o ประสานความร่วมมือกับทุกพันธมิตรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย “มุ่งสู่ความยั่งยืน” เริ่มต้นกันที่ ตลาดต่างประเทศ ททท. วางแผนกระตุ้นตลาดด้วย 5 ทิศทางหลัก ได้แก่ เสริมภาพลักษณ์แบรนด์ท่องเที่ยวไทยด้านความยั่งยืนและใช้เป็นจุดขายใหม่ของประเทศไทย เน้นไม่สร้างภาระ แต่สร้างสาระรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน (Travel with Care) กระจายรายได้อย่างทั่วถึง (Fair Income) และเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นจุดขาย (Encourage Identity & Biodiversity)
โดย ททท. มีแนวคิดดำเนินโครงการ Kinnaree Brand Refresh ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รู้จักรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยหรือรางวัลกินรีในวงกว้าง เพื่อเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวภายใต้มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism) รุกเปิดตลาดคุณภาพใหม่ให้ท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โฟกัสตลาดใหม่ในภูมิภาคยุโรปและตะวันออกกลาง และขยายสู่กลุ่มตลาดย่อย ซึ่งเป็นผู้มีรายได้สูง แสวงหาคู่ค้ารายใหม่และขยายความร่วมมือกับคู่ค้ารายใหญ่ในเวทีโลก เช่น Tourism Cares สหรัฐอเมริกา OTA ชั้นนำ หรือ Platform การชำระเงินยอดนิยมต่าง ๆ ขยายการเดินทางเชื่อมโยงทางบกเข้าถึงประเทศไทย เช่น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จีน-เวียงจันทน์ (ลาว) – ไทย และ ใช้ Digital Content เสริมพลังทางการตลาด เช่น เกาหลีใต้ ใช้ Virtual influencer คือ น้อง Rozy นำเสนอประสบการณ์ท่องเที่ยวไทยชวนนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย Gen Y – Z มาเที่ยวไทย ส่งไม้ต่อไปที่ “ไทยเที่ยวไทย”
ตลาดในประเทศ ททท. ให้น้ำหนักไปที่การกระตุ้นให้เที่ยวไทยทันที เพิ่มความถี่และการกระจายตัวท่องเที่ยวหลากหลายพื้นที่มากขึ้น เป็น 365 วัน มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน ตลอดทั้งปี เพื่อสร้างรายได้ให้ทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียม ควบคู่การนำเสนอจุดแข็งสู่จุดขายของ Soft Power (5F) และนำเสนอสินค้าเชิงประสบการณ์ผ่านอัตลักษณ์ 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ เกิดเป็น Meaningful Travel ประกอบด้วย ภาคเหนือ ชวนสัมผัส “เสน่ห์วันวานเมืองเหนือ” ผสานความร่วมสมัย ผ่าน Northern Thailand Soft Power โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ กระตุ้นค่าใช้จ่ายด้วย Art & Craft ขยายฤดูกาลท่องเที่ยว ภาคกลาง เสิร์ฟความสุขง่าย ๆ ใกล้ตัวจากสุขภาพดี เรื่องราวดีๆ งานดี เที่ยวดี และสบายใจดี ให้ผู้เยี่ยมเยือน ภายใต้แนวคิด 4HD (4 Happy-Definition) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดประสบการณ์อาหารถิ่น และ Michelin Guide ชวนคนไทยเที่ยวอีสานในคอนเซปต์ “อีสาน…ไปไสกะแซ่บ มากกว่าอาหาร คือ ประสบการณ์” ผ่าน 20 เมนูแซ่บ จาก 20 จังหวัดภาคอีสาน ภาคตะวันออก นำเสนอคุณค่าประสบการณ์ท่องเที่ยวผ่านเรื่องราว “Story สบ๊ายสบาย Plus” ด้วยประสบการณ์ท่องเที่ยว ยืนหนึ่งเรื่องกิน สุดฟินเรื่องสบาย จิตผ่อนคลายสายมู และเรียนรู้เรื่องรักษ์ และภาคใต้ ไปหรอยแรง ตอกย้ำประสบการณ์ท่องเที่ยวหลากหลาย 14 สไตล์ 14 จังหวัด ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวภาคใต้ตามสไตล์ตัวเองได้ตลอดทั้งปี
ด้านสื่อสารการตลาด ปี 2567 ยังคงดำเนินการภายใต้แบรนด์ “Amazing Thailand” โดย ททท. จะชวนคนไทยออกไปสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวครั้งใหม่ที่เต็มไปด้วยความสุขแบบทันทีและมีความหมายกับแคมเปญ “โมเมนต์ที่ใช่…สร้างได้ไม่ต้องรอ” เพื่อออกไปหา “สุขง่ายๆ ได้ทันที ที่เที่ยวไทย” และแคมเปญ “Meaningful Relationship” ของตลาดต่างประเทศ เสนอมุมมองการเดินทางท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยความหมาย สร้าง Meaningful Connections จากการมีส่วนร่วมกับพื้นที่และผู้คน จนเกิดเป็นความประทับใจ มิตรภาพ นำไปสู่การแบ่งปัน (Give & Get) และเกิดการเดินทางซ้ำ ไม่เพียงเท่านั้น ททท. จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ Soft Power ของประเทศไทย ผ่านการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชนในแคมเปญ Brand Collaboration : Amazing Thailand x 5F สอดรับกับความตั้งใจของ ททท. ที่มุ่งมั่นให้ปี 2567 เป็น Year of Meaningful Collaboration ที่พันธมิตรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะช่วยกันผลักดันให้เกิด Synergy เสริมกำลังซึ่งกันและกัน เกิดเป็น Super Power ที่จะผลักดันให้การท่องเที่ยวไทย สังคมไทยและคนไทยเติบโตไปด้วยกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน
ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี 2567 ผลักดันรายได้ในระดับใกล้เคียงกับรายได้ที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยได้รับในปี 2562 ก่อนสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยบนพื้นฐานของสถานการณ์ท่องเที่ยวที่มีปัจจัยเอื้ออำนวยในทุกด้าน (Best Case Scenario) จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากต่างประเทศ 1.92 ล้านล้านบาท ดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าไทยจำนวน 35 ล้านคน ขณะที่ตลาดในประเทศ สร้างรายได้หมุนเวียน 1.08 ล้านล้านบาท จากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทย 200 ล้านคน-ครั้ง