30.9 C
Bangkok
Tuesday, October 15, 2024
010
002
previous arrow
next arrow

ซัยโจ เด็นกิ ปลื้มพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศป้องกันบุคลากรแพทย์ติดเชื้อจากผู้ป่วยโควิด

“ซัยโจ เด็นกิ” พลิกวิกฤติโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีคุณภาพอากาศ ชูนวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจากผู้ป่วยโควิด พร้อมต่อยอดนวัตกรรมสู่หอผู้ป่วยทั่วไป สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัยหวังช่วยลดการติดเชื้อและการมีสุขภาวะอากาศสะอาดบริสุทธิ์ของสังคมไทยแม้หลังโควิดสงบ

ซัยโจ เด็นกิ ตระหนักถึงความรุนแรงของผลกระทบของสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ที่มีต่อการใช้ชีวิตประชาชนและการให้บริการทางการแพทย์ เร่งพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศความดันลบ (Negative Pressure) เพื่อใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจนสำเร็จ พร้อมต่อยอดนวัตกรรมด้วยการขยายบริการไปยังหอผู้ป่วยทั่วไป สถานที่ทำงานและบ้านอยู่อาศัย หวังช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและการมีสุขภาวะด้านอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ของสังคมไทยแม้ภายหลังจากโรคระบาดผ่านพ้นไปแล้ว (Post Covid-19) เผยภูมิใจที่อุตสาหกรรมไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีระบบแลกเปลี่ยนอากาศที่มีความซับซ้อนด้วยตนเอง

นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า จากวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย “ซัยโจ เด็นกิ” มีความห่วงใยในความปลอดภัยของบุคคลกรทางการแพทย์และของประชาชน จึงเร่งพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศความดันลบ (Negative Pressure) เพื่อใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจนสำเร็จ โดยนวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศดังกล่าวพัฒนามาจากเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ที่ “ซัยโจ เด็นกิ” มีประสบการณ์มากว่า 15 ปี  ซึ่งระบบนี้สามารถควบคุมทิศทางการไหลเวียนของอากาศภายในห้อง จากบุคลากรทางการแพทย์ (โซนสะอาด) ไปยัง ผู้ป่วย COVID-19 (โซนเชื้อโรค) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสเกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้ป่วยมาสู่บุคลากรทางการแพทย์  ด้วยการนำอากาศใหม่ 100% (Fresh Air) เติมเข้าสู่ภายในห้องตลอดเวลา เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคภายในห้องอย่างรวดเร็ว และทำให้ระบบดังกล่าวสามารถปรับความชื้นสัมพัทธ์ และมีประสิทธิภาพในการสร้างแรงดันลบ (Negative Pressure) ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของ WHO และ CDC สหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากภายในห้อง ไหลออกสู่บริเวณภายนอก เช่น ชุมชน หรือส่วนอื่นๆภายในโรงพยาบาล

ตั้งแต่ต้นปี 2564  ซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด  บริษัท ‘ซัยโจ เด็นกิ’ ได้ติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนอากาศด้วยระบบความดันลบให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ไปแล้วรวมกว่า 1,000 เตียงทั่วประเทศ รวมถึงการเปลี่ยนอาคารท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ที่มีอายุร่วม 37 ปี ซึ่งเดิมรองรับได้แค่ผู้ป่วยธรรมดา ปรับให้ดีขึ้นเป็นหอรับผู้ป่วยวิกฤติ Covid-19 ได้จำนวนมากถึง 41 เตียง มูลค่ากว่า 26 ล้านบาท โดยใช้เวลาติดตั้งเพียงแค่ 10 วัน เท่านั้น

นอกจากการพัฒนานวัตกรรมระบบแลกเปลี่ยนอากาศเพื่อใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยจากเชื้อโควิดจนสำเร็จแล้ว “ซัยโจ เด็นกิ” ยังได้ต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวด้วยการขยายบริการไปยังหอผู้ป่วยทั่วไป รวมถึงในสถานที่ทำงานและบ้านอยู่อาศัย    เพื่อช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อในสถานพยาบาล รวมถึงการมีสุขภาวะด้านอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์ของสังคมไทย แม้ภายหลังจากโรคระบาดผ่านพ้นไปแล้ว  (Post Covid-19)

“นับเป็นความสำเร็จและความน่าภาคภูมิใจของอุตสาหกรรมไทยที่พัฒนาเทคโนโลยีที่มีระบบแลกเปลี่ยนอากาศที่มีความซับซ้อนด้วยตนเอง ซึ่ง “ซัยโจ เด็นกิ” ได้จดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญานี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ระบบนี้ยังได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ว่ามีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์และชุมชน อีกด้วย”

นวัตกรรมคุณภาพอากาศ (Innovation for Better Air Quality)แห่งความก้าวหน้าของซัยโจ เด็นกิพัฒนา DC Inverter 700,000 BTU/h

ซัยโจ เด็นกิ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ.2528 และได้ลงทุนด้านการพัฒนาวิจัย (R&D) มาโดยตลอดจนสามารถผลิตสินค้าประหยัดพลังงานได้สูงมากเป็นอันดับต้นๆของโลก วันนี้ ซัยโจ เด็นกิ ประสบความสำเร็จในการพัฒนา DC Inverter ในเครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านทั่วไป ขนาดเฉลี่ยไม่เกิน 36,000 บีทียูต่อชั่วโมง ให้เป็นเครื่องปรับอากาศ DC Inverter ที่ประหยัดไฟได้สูงมาก ขนาดใหญ่ถึงกว่า 700,000 บีทียู และติดตั้งในฐานทัพเรือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นรายแรกของประเทศไทย  ณ วันที่ 10 เมษายน 2564

เครื่องทำน้ำแข็งปลอดเชื้อสำหรับผ่าตัด (Sterile Surgical Slush Machine) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อผลิตเครื่องทำน้ำเกลือให้เป็นน้ำแข็ง สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้เป็นรายแรกของประเทศไทย โดยน้ำแข็งทั่วไปมีลักษณะแหลมคม ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายหัวใจ จึงพัฒนาเครื่องทำน้ำแข็งแบบ Sterile ซึ่งมีลักษณะมน กลม ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย และสะอาดปลอดภัยสูง ด้วยระบบของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ความภูมิใจในการสร้างห้องผ่าตัด สำหรับผู้ป่วย COVID-19 แห่งแรก

ซัยโจ เด็นกิ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนอากาศในห้องผ่าตัดจากข้อกำหนดมาตรฐาน ASHRAE 170 ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอากาศในห้องผ่าตัดไว้ที่ 20 รอบต่อชั่วโมง หรือ ทุกๆ 3 นาที ซัยโจ เด็นกิ พัฒนาระบบ Interchangable Positive/Negative Operating Room ในห้องเดียวกันเป็นรายแรกของประเทศไทย ให้มีความปลอดภัยสูงกว่ามาตรฐานสากลถึง 1 เท่า โดยสามารถเปลี่ยนอากาศใหม่ได้ถึง 50 รอบต่อชั่วโมง หรือเกือบทุกๆ 1 นาที โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และได้ผ่าตัดคลอดลูกของผู้ป่วยโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย ทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย

ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 (BSL-3) รองรับการตรวจเชื้อร้ายแรงออกแบบเพื่อสร้างระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการ BSL-3 เพื่อเก็บและป้องกันอันตรายจากเชื้อก่อโรคร้ายแรง เช่น COVID-19 วัณโรค เป็นต้น ทำให้สามารถทำงานวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ต้องเกี่ยวข้องกับเชื้อร้ายแรงดังกล่าวได้ ซึ่งมีราคาสูงและจำกัดมากในประเทศไทย

Related Articles

Stay Connected

22,878FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles