33.9 C
Bangkok
Tuesday, September 10, 2024
010
002
previous arrow
next arrow

พลัซ ไซเอนซ์ และ ทิงค์เน็ต ร่วมออกแบบพัฒนาและผู้ผลิตผลงาน “รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย” และ “รถปฏิบัติการตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่”

เมื่อต้นปี 2563 ทั่วโลกต้องเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประเทศไทยเองได้รับผลกระทบหลายด้านจนนำไปสู่การล็อกดาวน์ประเทศ บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จํากัด ผู้นําเข้าและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์แลวิทยาศาสตร์ บริษัท ทิงค์เน็ต จํากัด ผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการข้อมูลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านไอที และ บริษัท แอท-ยีนส์ จํากัด ผู้ให้บริการการตรวจพันธุกรรมในระดับสูง การวินิจฉัยในระดับยีน และดี เอ็น เอ จึงร่วมมือกันเป็น Thailand CO Response Team หรือ TCRT มุ่งนำความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละองค์กรเพื่อช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติ โดยเป้าหมายหลักคือต้องการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเดินทางไปตรวจหาเชื้อ ซึ่งต้องมีการใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกับบุคคลอื่น รวมทั้งต้องการลดการแพร่เชื้อจากความแออัดในโรงพยาบาล ทีม TCRT จึงได้สร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดในประเทศให้ได้ตามมาตรฐานสากล มาสนับสนุนการบริหารจัดการให้บริการประชาชนในการตรวจคัดกรองและติดตามผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง และช่วยให้ภาครัฐสามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

คุณนัทธี อินต๊ะเสน ผู้บริหาร บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จํากัด กล่าวว่า เดือนมีนาคม 2563 เป็นช่วงที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อในไทยเริ่มสูงขึ้น บริษัทฯ จึงได้พัฒนารถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย และรถปฏิบัติการตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่ขึ้น โดยคำนึงถึงการใช้งานจริงและได้มาตรฐานห้องปฏิบัติการในระดับสากล ซึ่งกรมควบคุมโรคได้นำรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยคันแรกไปทดลองใช้ในเดือนเมษายน และออกปฏิบัติการครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2563 นับเป็นผู้ผลิตรายแรกในไทยที่ได้รับการรับรองจากกรมควบคุมโรค สำหรับรถปฏิบัติการตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่ (BSL-3) นั้นสามารถทำการเก็บตัวอย่างและการตรวจวิเคราะห์เชื้อได้เลย ทำให้ทราบผลการตรวจได้อย่างรวดเร็วภายใน 3 ชั่วโมง ช่วยลดระยะเวลาเรื่องการขนส่ง ซึ่งได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่การออกแบบจนถึงขั้นตอนผลิต ตลอดจนได้รับการทดสอบและนำไปปฏิบัติงานจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปัจจุบันรถปฏิบัติการตรวจเชื้อฯ ได้ใช้งานอยู่ที่ศูนย์แรกรับและส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ

ทั้งนี้ รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย และรถปฏิบัติการตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่ถูกออกแบบให้ทำงานควบคู่กันโดยมีเป้าหมายให้ใช้งานได้ทั่วถึงทุกพื้นที่อย่างรวดเร็ว โดยรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ช่วยเสริมประสิทธิภาพการค้นหาเชิงรุก สามารถปกป้องเจ้าหน้าที่ ช่วยประหยัดทรัพยากรชุด PPE และเพิ่มความสะดวกสบายให้เจ้าหน้าที่มากขึ้น  ส่วนรถปฏิบัติการตรวจเชื้อฯช่วยเสริมความสามารถของห้องปฏิบัติการในพื้นที่กรณีฉุกเฉิน เพื่อลดความวิตกกังวลของประชาชน

รถปฏิบัติการตรวจเชื้อฯนี้นอกจะนำมาใช้ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้วยังสามารถนำไปใช้ตรวจหาโรคระบาดอื่น ๆ ได้ถึงระดับ Airborne Disease ทั้งในคนและด้านปศุสัตว์ เช่น โรคติดเชื้อ RSV ในคนสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีห้องปฏิบัติการ เช่น สนามบิน ชายแดน รวมทั้งสามารถใช้เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่ในการศึกษาวิจัยนอกสถานที่ได้อีกด้วย ซึ่งปัจจุบันได้มีการผลิตและจำหน่ายรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย และรถปฏิบัติการตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่ให้กับทั้งภาครัฐและเอกชนไปแล้วมากกว่า 50 คัน ซึ่งแต่ละคันได้ถูกออกแบบให้แตกต่างตามความต้องการในการใช้งาน

คุณแสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้บริหาร บริษัท ทิงค์เน็ต จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการข้อมูลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านไอที อาทิ JobThai Platform แพลตฟอร์มหางาน สมัครงาน และค้นหาบุคลากรที่สะดวกตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย โดยคุณแสงเดือน กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโปรเจกต์นี้เป็นอย่างมาก โดยทีมงานทิงค์เน็ตจำนวนหนึ่งมีส่วนร่วมในการสร้างและประกอบรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัยและรถปฏิบัติการตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่ที่พื้นที่ THiNKNET Makespace ร่วมกับทีมงานพัลซ ไซเอนซ์ ทีมงานอีกส่วนหนึ่งเดินหน้าพัฒนา TCRT Platform เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกตรวจเก็บตัวอย่าง และอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัยให้กับผู้เข้ารับการตรวจให้มากที่สุด โดยร่วมกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อออกแบบแพลตฟอร์มให้มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์

โดย TCRT Platform ถูกออกแบบมาใช้งานร่วมกับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย เพื่อช่วยบริหารจัดการข้อมูลในการเข้ารับการตรวจและรายงานผลให้กับผู้เข้ารับการตรวจ ซึ่งจะเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับฝั่งของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการตรวจ สามารถรองรับการตรวจถึง 3 แบบ คือ 1.ตรวจหาเชื้อในรูปแบบการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส (RT-PCR) 2.วิธีการตรวจหาแอนติเจน (Antigen) หรือ RT-LAMP 3.วิธีการใช้ชุดตรวจภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี (Antibody)

โดยระบบจะประกอบไปด้วย Website สำหรับผู้รับการตรวจ Application สำหรับเจ้าหน้าที่ และ Backoffice (Website) สำหรับเจ้าหน้าที่ ในส่วนของระบบฝั่งเจ้าหน้าที่สามารถทำได้ตั้งแต่การยืนยันตัวตนผู้เข้ารับการตรวจ เชื่อมข้อมูลของผู้รับการตรวจกับชุดตรวจ รายงานผลผ่านแพลตฟอร์ม และ SMS รวมถึงดูภาพรวมสถิติการตรวจทั้งหมด ทางด้านระบบฝั่งผู้รับการตรวจจะสามารถลงทะเบียนเข้ารับการตรวจ กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อยืนยันตัวตนล่วงหน้า และรับรายงานผลการตรวจผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งระบบช่วยให้การติดตามและรายงานผล สะดวกรวดเร็วและลดความผิดพลาดได้ นอกจากนี้ ทิงค์เน็ตยังได้ร่วมกับกรมควบคุมโรคในการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลและค้นหาประวัติในฐานข้อมูลด้วยเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition) เพื่อแก้ปัญหาผู้รับการตรวจในกลุ่มที่ไม่มีบัตรประจำตัว โดยระบบนี้ไม่เพียงใช้ในการตรวจโควิด-19 เท่านั้น แต่สามารถปรับการใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์อื่น เช่น การฉีดวัคซีนเพื่อดูว่าบุคคลนี้ได้รับการฉีดไปแล้วหรือยัง เพื่อไม่ให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ตั้งเป้าหมายที่จะต่อยอดพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานจัดการข้อมูลผู้ป่วยในการเข้ารับการตรวจต่าง ๆ นอกเหนือจากการตรวจโควิด-19 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำระบบบริหารจัดการข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสาธารณสุขขนาดเล็กที่สนใจสามารถติดต่อขอใช้ระบบได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จํากัด โทร.0-2886-7808

Related Articles

Stay Connected

22,878FansLike
3,912FollowersFollow
22,000SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles