29.9 C
Bangkok
Thursday, November 7, 2024
010
002
previous arrow
next arrow

ยุโรป Lockdown โควิด-19 ระบาดหนัก ราคาน้ำมันปรับลดแรง

ปตท. เผยผลวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 15-19 พ.ย. 64 และแนวโน้ม 22-26 พ.ย. 64 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 80.98 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -2.20 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 78.99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -2.97 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 80.67 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -1.62 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -4.05 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 94.64 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง -4.05 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 91.45 เหรียญสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบ NYMEX WTI เฉลี่ยรายสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงต่ำกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในยุโรป โดยนายกรัฐมนตรี Alexander Schallenberg ของออสเตรีย กล่าวว่า รัฐบาลออสเตรียจะเริ่มมาตรการ Lockdown ทั่วประเทศในวันจันทร์ที่ 22 พ.ย. 64 โดยสถานที่ต่าง ๆ อาทิ ร้านอาหาร โรงละคร ร้านตัดผม ฯลฯ ปิดทำการเป็นเวลา 10 วัน และอาจขยายเป็น 20 วัน และกำหนดให้ทุกคนต้องรับวัคซีน ทำให้ออสเตรียเป็นประเทศแรกในยุโรปที่กลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มงวด โดยประเทศเยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรป อาจต้อง Lockdown อย่างเต็มรูปแบบเช่นกัน ล่าสุด Worldometers รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 21 พ.ย. 64 เพิ่มขึ้น 14,042 ราย และประเทศเยอรมนี เพิ่มขึ้น 4,160 ราย

ติดตามท่าทีของกลุ่ม OPEC+ หลังถูกกดดันจากทำเนียบขาวของสหรัฐฯ อีกครั้งในวันศุกร์ที่ผ่านมา ล่าสุดสหรัฐฯ โดย Jake Sullivan ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ Amos Hochstein ที่ปรึกษาอาวุโสด้านความมั่นคงด้านพลังงาน และ Brian Deese ที่ปรึกษาเศรษฐกิจทำเนียบขาว ดึงพันธมิตรเก่าแก่ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตลอดจนจีน และอินเดียพิจารณาการระบายน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) โดยนักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs กล่าวว่า การปล่อย SPR จะกดดันราคาน้ำมันให้ลดลงในระยะสั้น

ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ราคา ICE Brent มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 75 – 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีโอกาสที่ ICE Brent จะขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ คือ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 12 พ.ย. 64 ลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 433 ล้านบาร์เรล และปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ (Crude Oil Import) ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 83,000 บาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 6.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

Joint Organization Data Initiative (JODI) รายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดีอาระเบียในเดือน ก.ย. 64 เพิ่มขึ้น 66,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 6.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 64 ขณะที่ปริมาณการผลิต เพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 9.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 63

Related Articles

Stay Connected

22,878FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles