ราคาน้ำมันดิบโลกผันผวน นานาชาติ Lockdown ฉุดรั้งเศรษฐกิจ

0
146
Global Crude Oil Prices Fluctuate International Lockdown Dragging Down The Economy
Global Crude Oil Prices Fluctuate International Lockdown Dragging Down The Economy

ปตท. เผยสถานการณ์ตลาดน้ำมัน สัปดาห์ที่ 28 มิ.ย.- 2 ก.ค. 64 และแนวโน้ม 5-9 ก.ค. 64 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 75.21 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -0.12 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 73.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +0.56 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 73.47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +0.51 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.49 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 84.06 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซล ราคาปรับลดลง น -0.04 เหรียญ สหรัฐฯมาเป็นราคา 80.14 เหรียญสหรัฐฯ

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก         

* Pemex บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเม็กซิโกแถลงการณ์ว่า เกิดเหตุท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติใต้ทะเลบริเวณอ่าวเม็กซิโกระเบิด ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ใกล้กับแท่นผลิตน้ำมันดิบที่แหล่ง Ku Maloob Zaap (กำลังการผลิตประมาณ 700,000 บาร์เรลต่อวัน) อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

* สถานการณ์การเมืองระหว่างอิหร่าน และกลุ่มชาติตะวันตกตึงเครียด หลังอิหร่านยังไม่ขยายระยะเวลาข้อตกลง ให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) ตรวจสอบการดำเนินการด้านนิวเคลียร์ ซึ่งได้สิ้นสุดลงตั้งแต่ 24 มิ.ย.64 อาจกระทบต่อการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ (Joint Comprehensive Plan of Action: JCPOA) ระหว่างอิหร่าน กับกลุ่มประเทศมหาอำนาจ

* กลุ่ม OPEC+ โดยที่ประชุม Joint Technical Committee (JTC) คาดว่าอุปสงค์น้ำมันโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะเติบโตจากปีก่อน 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และทั้งปี 2564 จะเติบโตจากปีก่อน 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

* นักลงทุนวิตกต่อมาตรการ Lockdown ในหลายประเทศ โดยเฉพาะทางฝั่งแปซิฟิก อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซียฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ (Delta) อาจกดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความต้องการใช้พลังงาน

* Baker Hughes Inc. รายงานจำนวน Rig ขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 2 ก.ค.64 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
4 แท่น มาอยู่ที่ 376 แท่น

แนวโน้มราคาน้ำมัน

                ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์ว่าแนวโน้มราคาน้ำมันมีความผันผวน ให้จับตาผลการประชุมของกลุ่ม OPEC+ หลังจากมีความขัดแย้งเรื่องการขยายระยะเวลามาตรการควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมัน ทั้งนี้ จากการประชุมในวันศุกร์ที่ 2 ก.ค. 64 ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลง และจะประชุมกันอีกครั้งในวันนี้ 5 ก.ค.64

เบื้องต้นกลุ่ม OPEC+ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันรวม 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเดือน ส.ค.- ธ.ค.64 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 400,000 บาร์เรลต่อวัน และขยายเวลามาตรการปรับลดการผลิตน้ำมัน ออกไปเป็นเดือน ธ.ค. 65 จากเดิมที่จะสิ้นสุด เม.ย.65

อย่างไรก็ตามสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แม้จะเห็นด้วยกับข้อเสนอแรก แต่คัดค้านข้อเสนอที่จะยืดเวลามาตรการดังกล่าว พร้อมกับเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับการผลิตขั้นต่ำ (Baseline Production) ให้โควตาการผลิตน้ำมันของตนเพิ่มขึ้น