28.3 C
Bangkok
Monday, December 23, 2024
010
002
previous arrow
next arrow

TCMA ปักหมุดปูนซีเมนต์ลดโลกร้อนปั้นอีโคซิสเต็มร่วมเคลื่อนไทยสู่ Net Zero 2050

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ผนึก 30 พันธมิตรเดินหน้าลดโลกร้อน สร้างการเปลี่ยนแปลงมิติใหม่วงการวัสดุก่อสร้าง ปูทางโลกยั่งยืน ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ลดก๊าซเรือนกระจก สู่เป้าหมายลดโลกร้อน ตามทิศทางระดับโลก COP 27 แสดงพลังความพร้อม สร้างความตระหนักรู้ ชูปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (ปูนลดโลกร้อน) พลิกโฉมใหม่ นำไทยสู่ “2024 Thailand’ s New Era of Low Carbon Cement: Hydraulic Cement”

นายชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) กล่าวว่า TCMA ร่วมขับเคลื่อนสู้วิกฤตโลกร้อน ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2565 ชูแนวคิด “Together for Our World ผนึกกำลังขับเคลื่อนลดโลกร้อน…ลดก๊าซเรือนกระจก” เพราะปัญหาโลกร้อนนั้นรุนแรงและใกล้ตัวกว่าที่ทุกคนคิด ทั้งภัยพิบัติรุนแรง สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็น ฝนตก น้ำท่วม ฝนแล้ง ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบ และส่งผลต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในโลกใบนี้ ทุกภาคส่วนจึงต้องมีความตระหนักถึงสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทำอย่างไรที่จะทำให้การดำเนินการในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ส่งผลกระทบทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น โดยมีเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายในสิ้นศตวรรษนี้

ทั้งนี้ ทางออกของปัญหาที่ผ่านการพัฒนาและวิจัย ที่ทำให้เกิดความยั่งยืน คือ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก”ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต ลดการเผาหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก นำเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมเข้ามาใช้ ทำให้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” ช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก โดยยังคงคุณลักษณะตามมาตรฐาน นำไปสู่การวางมาตรฐานวิศวกรรมงานก่อสร้างให้นำมาใช้แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในทุกประเภทงานก่อสร้าง

“นับเป็นมิติใหม่ที่ผู้ผลิตปูนซีเมนต์รวมตัวกันเป็นหนึ่ง และได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันการลดโลกร้อน แสวงหาร่วมมือและลงมือทำอย่างจริงจัง ทั้งภาควิชาชีพที่สนับสนุนการรับรองมาตรฐาน ด้านภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตที่ต้นกำเนิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านภาคการศึกษาสนับสนุนการวิจัยรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยลดโลกร้อน”

ภาคประชาชนร่วมมือกันใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และภาครัฐเป็นผู้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์นำร่องให้หน่วยงานในสังกัดเริ่มใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” ในโครงการก่อสร้างต่างๆ จึงนำไปสู่ความสำเร็จแรกในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 3 แสนตัน CO2 เมื่อปี พ.ศ. 2564 เร็วกว่าเป้าหมาย NDC Roadmap ถึง 9 ปี

ความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมผลตอบรับที่สำเร็จเร็วเกินคาด ทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของประเทศไทยก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับ 1 ในการดำเนินการสอดคล้องกับทิศทางของโลก ไปสู่ Net Zero 2050 นอกจากนี้ มีการสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความสำเร็จร่วมกันมีการกำหนดมาตรฐาน กระบวนการนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนขึ้น จึงขยายความร่วมมือและตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกไซด์ให้ได้อีก1 ล้านตัน CO2 ในปี พ.ศ. 2566 เทียบเท่าไม้พื้นเมือง 110 ล้านต้นในการดูดซับ CO2

“TCMA ได้เข้าไปประสานงานกับภาคส่วนต่างๆ เดิมเมื่อแรกเริ่ม 16 หน่วยงาน  5 กระทรวง เข้ามาร่วมมือกันตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับบริหาร ผู้อำนวยการ และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันขับเคลื่อนดำเนินการตามนโยบายมาตรการทดแทนปูนเม็ด เปลี่ยนมาใช้ “ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ นำไปสู่การขยายผล ปัจจุบันภาคีร่วมดำเนินการเพิ่มเป็น 31 หน่วยงาน โดยการสนับสนุนของ 6 กระทรวง สามารถสร้างมาตรฐาน กฎระเบียบที่ซับซ้อนให้ขับเคลื่อนได้อย่างสมบูรณ์จากความร่วมมือกันอย่างบูรณาการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”

นายชนะ กล่าวย้ำว่า  ความสำเร็จและความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงมาใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกนี้ มาจากความร่วมมือสนับสนุนของทุกภาคส่วน นับเป็นต้นแบบของการสร้างกระบวนการขับเคลื่อนการลดอุณหภูมิโลกอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นความภูมิใจของเราทุกคน ที่จะช่วยกันปลูกจิตสำนึกคนในประเทศในทุกภาคส่วน ให้เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบต่อการเกิดโลกร้อนให้น้อยที่สุด ไม่เพียงแต่การเลือกใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเท่านั้น แต่ขยายรวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย นอกจากนี้ TCMA ได้ทำงานร่วมกับ GCCA (Global Cement and Concrete Association) องค์กรชั้นนำด้านซีเมนต์และคอนกรีต และได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมประชุม COP 27 ที่อียิปต์ โดยจะนำวิธีการทำงานนี้ไปแลกเปลี่ยนกับสมาชิก GCCA และประเทศต่าง ๆ ที่เข้าประชุม COP 27 เพื่อแสวงหาความร่วมมือ ทั้งด้านเทคโนโลยี แหล่งทุนและอื่น ๆ มาสู่ประเทศไทยในการร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร. สมนึก ตั้งเติมสิริกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีก่อสร้างและบำรุงรักษา สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร กล่าวว่า ในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์มีการเผาไหม้อุณหภูมิสูงจึงมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา การผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีกระบวนการผลิตที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่คุณภาพของปูนซีเมนต์ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ในทางกลับกัน จะดีขึ้นในบางมิติของการใช้งานอีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ปูนซีเมนต์อยู่ที่ 20-30 ล้านตันต่อปี หากโครงการก่อสร้างต่างๆ เปลี่ยนมาใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้หลายแสนตันต่อปี

ภาคการศึกษาต้องช่วยกันสนับสนุนสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความมั่นใจในการนำไปใช้งาน รวมถึงการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ลดโลกร้อนชนิดใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาให้อุตสาหกรรรมก่อสร้างได้มีบาทบาทในการช่วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Related Articles

Stay Connected

22,878FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles