– ผลการสำรวจครั้งใหม่ของโรชจากผู้หญิงเกือบ 3,000 คนใน เอเชีย แปซิฟิก รวมทั้งประเทศไทย พบว่าผู้หญิงไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
– ความตระหนักรู้ด้านสุขภาพของสตรีและอุปสรรคในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นผลมาจาก ความกลัว ขาดการรับรู้ และขาดการสนับสนุน ความเข้าใจว่าการตรวจคัดกรองฯ นั้นเจ็บและความอับอายจากการตีตราของสังคม รวมทั้งการไม่เห็นคุณค่าความสำคัญของเวลาและสุขภาพผู้หญิง
– ครั้งแรกกับการจัดแคมเปญสัปดาห์ตรวจสุขภาพสตรีแห่งชาติ (12 – 19 สิงหาคม 2567) โดยเป็นการผนึกกำลังผสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน นำโดยสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง ลอรีอัล ประเทศไทย เชอรีล่อน มิสทิน และโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนอีกกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ
บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังจัดแคมเปญ “สัปดาห์การตรวจสุขภาพสตรีแห่งชาติ หรือ National Women’s Check-up Week” เพื่อรณรงค์ให้ผู้หญิงเห็นความสำคัญของการตรวจสุขภาพสตรี ภายใต้แนวคิด เลิกเดี๋ยว เปลี่ยนเป็นฤกษ์ดี ถึงเวลาสตรีหันมารักตัวเอง #MakeTheMostImportantDate และเข้ารับการตรวจสุขภาพระหว่างช่วงสัปดาห์วันแม่แห่งชาติ 12 – 19 สิงหาคม 2567 ณ โรงพยาบาลที่ร่วมโครงการกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ
มะเร็งปากมดลูก ถือเป็นมะเร็งไม่กี่ชนิดที่ป้องกันได้ แต่พบว่ากลับเป็นมะเร็งอันดับที่ 2 ที่คร่าชีวิตหญิงไทย และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 ในผู้หญิงอายุระหว่าง 15 – 44 ปี 2 โดยแคมเปญ สัปดาห์ตรวจสุขภาพสตรีแห่งชาติ ริเริ่มจากข้อมูลการสำรวจความตระหนักรู้และทัศนคติต่อการตรวจสุขภาพของสตรีกว่า 3,000 คนในเอเชียแปซิฟิกจากโรช ซึ่งพบว่าผู้หญิงไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพของตนเอง รวมทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก1 และยังพบข้อจำกัดหลักๆ ที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพได้ อาทิ
– ความกลัว: ผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 1 ใน 3 มีความรู้ในเรื่องการตรวจสุขภาพสตรี รวมทั้งการตรวจคัดกรองในสตรีน้อยมาก รวมถึงวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูก1 และพบว่ามีผู้หญิงถึง 17% รู้สึกกังวลเมื่อต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจากความเจ็บและไม่สะดวก ในขณะที่อีก 17% กังวลเรื่องผลการตรวจ หรือรู้สึกเขินอาย ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักๆ ในการไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองฯ สำหรับประเทศไทย มีผู้หญิงเกือบ 10 ล้านคนที่เชื่อว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นเรื่องน่าอาย โดย 1 ใน 4 กังวลเรื่องความเจ็บจากการตรวจคัดกรองฯ ในขณะที่อีก 14% รู้สึกอายที่ต้องเข้ารับการตรวจคัดกรอง1 ทั้งนี้ การรอให้มีอาการก่อนจึงเข้ารับการตรวจนั้น มักจะสายเกินไปและเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงเหล่านั้นเสียชีวิต
– ช่องว่างเรื่องความตระหนักและการสนับสนุน: ผู้หญิงเกินครึ่ง (66%) ในเอเชียแปซิปิก มีความรู้ในเรื่องการตรวจน้อยมาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนคนเข้ารับการตรวจคัดกรอง ในประเทศไทย มีผู้หญิงจำนวนมากถึง 5 ล้านคนที่ไม่มีความรู้เรื่องความเสี่ยงขอโรคมะเร็งปากมดลูกเลย1 และมีจำนวนเกินครึ่งมีความรู้ในเรื่องการตรวจน้อยมากดังจะเห็นได้จากจำนวนคนเข้ารับการตรวจคัดกรอง1 *15 ล้าน x 34% = 5 ล้าน Reference
– การไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพสตรี: ผู้หญิงกว่า 71% รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความสำคัญ และไม่ค่อยมีใครให้ความสำคัญกับโรคสตรี มีผู้หญิงไทยเกือบ 70% รู้สึกว่าไม่ได้รับความสำคัญเท่าที่ควรอันเนื่องมาจากระบบสุขภาพ – ถือเป็นระดับอันดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในขณะที่อีก 34% ของผู้หญิงในประเทศไทยไม่มีความคิดที่จะเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเลย1
– ผู้หญิงไม่มีเวลาให้ตัวเอง: เกือบครึ่งของผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับเรื่องของครอบครัวก่อนเรื่องของตนเอง ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้หญิงมักจะเลื่อน หรือถึงกับยกเลิกการพบแพทย์เพื่อตรวจ รักษาของตนเองไป1
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอาบอรุณ เลิศขจรสุข อุปนายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวว่า แม้ว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ป้องกันได้หากได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่นๆ และได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่มะเร็งปากมดลูกยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย จึงต้องเร่งให้ความรู้ และสร้างการตะหนักรู้ให้ผู้หญิงเห็นถึงความจำเป็น และความสำคัญในการเข้ารับตรวจคัดกรอง
“สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับ โรช รวมทั้งภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ในการรณรงค์ให้ผู้หญิงหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพของตนเอง ผ่านแคมเปญ สัปดาห์การตรวจสุขภาพแห่งชาติ นี้ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของสมาคมในการดำเนินงานเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นของสตรีไทยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์” รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอาบอรุณ เลิศขจรสุข กล่าว
นางสาวศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ ประธานกรรมการ มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง กล่าวว่า ผลการสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นต้องร่วมมือกันในการลดข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งเร่งรณรงค์ กระตุ้นเตือน ให้ผู้หญิงรู้สึกได้รับการสนับสนุน เห็นถึงความสำคัญเมื่อพูดถึงสุขภาพสตรี โดยการจัดให้มีการเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้ง จุดบริการที่สามารถให้ผู้หญิงเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ทางสตรีได้ โดยเฉพาะการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก นั้นถือเป็นก้าวสำคัญในการช่วยชีวิตผู้หญิง
“มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมกับโรช ไดแอกโนสติกส์ ในการริเริ่มแคมเปญสัปดาห์ตรวจสุขภาพสตรีแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนให้ผู้หญิงไทย ใส่ใจ และเห็นถึงความสำคัญของข้อมูลด้านสุขภาพสตรีและความจำเป็นในการเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยเช่นกัน” นางสาวศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ ประธานกรรมการ มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง กล่าว
“ที่โรช ไดแอกโนสติกส์ เราเข้าใจความท้าทายและข้อจำกัดต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องพบเจอเมื่อพูดถึงการตรวจสุขภาพ แคมเปญ สัปดาห์ตรวจสุขภาพสตรีแห่งชาติ นี้ไม่ใช่เป็นเพียงแคมเปญ แต่เป็นความตั้งใจลงมือสร้างให้เกิดความตระหนักรู้ ให้ความรู้ สนับสนุนการตรวจคัดกรองให้ผู้หญิงในประเทศไทย เป็นการชื่นชมความอดทน การปรับตัวตามสถานการณ์ และความเข้มแข็งของพวกเธอ และที่สำคัญที่สุด เป็นการส่งเสียงถึงผู้หญิง ให้พวกเธอรู้ว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องหันมารัก และใส่ใจตัวเองด้วยเช่นกัน แม่ว่าจะมีภาระมากมายเพียงใดก็ตาม” มร. มิไฮ อีริเมสซู กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริม
สำหรับแคมเปญ “สัปดาห์การตรวจสุขภาพสตรีแห่งชาติ หรือ National Women’s Check-up Week” เป็นแคมเปญที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง บริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน) และโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมโครงการอีกกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ โดยผู้ที่เข้าร่วมแคมเปญเข้ารับการตรวจสุขภาพสตรีในช่วง 12 – 19 สิงหาคม 2567 ณ โรงพยาบาลที่ร่วมโครงการจะได้รับผลิตภัณฑ์จาก ลอรีอัล เชอรีล่อน และมิสทิน ไปอีกด้วย
ร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จะช่วยลดการตีตราทางสังคมและความเชื่อผิดๆ ข้อจำกัดต่างๆ และความรู้สึกอับอายให้ลดลงได้ แคมเปญนี้มุ่งหวังที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิง และสร้างวัฒนธรรมการรักตัวเอง ให้ผู้หญิงหันมาใส่ใจสุขภาพตัวเอง สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและร่วมแคมเปญได้ที่เว็บไซต์ www.tgcs.or.th