
ฝูโจว, จีน : ฝูโจว เมืองเอกของมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเอกลักษณ์พร้อมประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,200 ปี หล่อหลอมให้เกิดบรรยากาศของความเปิดกว้างและการผสมผสานทางวัฒนธรรม ในสมัยโบราณเมืองนี้มีชื่อเรียกว่า “หมินตู” (เมืองหลวงแห่งดินแดนหมิน) จึงเป็นที่มาของ “วัฒนธรรมหมินตู” ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้
ธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาของหญิงชาวฝูโจว คือการปักปิ่นเงินสามเล่มบนมวยผม โดยเล่มหนึ่งปักตั้งตรง และอีกสองเล่มปักเฉียง
ปิ่นเหล่านี้แบนคล้ายใบมีด จึงถูกเรียกอีกชื่อว่า “มีดสามเล่ม” ด้วยความที่ฝูโจวเป็นเมืองชายฝั่งทะเลทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน และเคยถูกโจรสลัดรุกรานในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง จึงมีความเชื่อว่าหญิงชาวฝูโจวในยุคนั้นใช้ปิ่นเหล่านี้ทั้งเป็นเครื่องประดับและอาวุธป้องกันตนเองไปในเวลาเดียวกัน
ปิ่นสามเล่มนี้สื่อถึงความกล้าหาญ ความอ่อนโยน และความรักชาติของสตรีชาวฝูโจว และเมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ปิ่นนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อชาติ ครอบครัว และตนเอง ซึ่งสะท้อนถึงจิตวิญญาณของเมืองฝูโจวอย่างแท้จริง
เครื่องประดับโบราณชิ้นนี้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในยุคสมัยนี้ โดยมีบทความและวิดีโอเกี่ยวกับปิ่นสามเล่มถูกเผยแพร่และแชร์กันอย่างกว้างขวางทางโซเชียลมีเดียทั้งในและต่างประเทศ มียอดวิวรวมกันกว่า 600 ล้านครั้ง ตามเมืองโบราณและตรอกซอยต่าง ๆ ทั่วประเทศ เรามักจะเห็นนักท่องเที่ยวปักปิ่นสามเล่มเพื่อถ่ายภาพสวย ๆ เป็นที่ระลึก
ด้วยนโยบายยกเว้นวีซ่าสำหรับพลเมืองจากประเทศที่กำหนด สามารถเดินทางผ่านสนามบินนานาชาติฝูโจว ฉางเล่อ ได้นานถึง 240 ชั่วโมง ทำไมไม่ลองมาสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของฝูโจวด้วยตัวคุณเอง

Mindu Culture in the Spotlight — Three Hairpins: for the Country, for the Family, and for Oneself
FUZHOU, China : Fuzhou, the capital of Fujian Province, China, has a distinct geographical setting and a history spanning more than 2,200 years, exuding an inclusive and open vibe. Since the city was known as “Mindu” (the capital of the Min area) in ancient times, its culture is the “Mindu culture.”
It has long been a tradition for Fuzhou women to insert three silver hairpins into a bun on their heads: one is vertical and two are diagonal.
The hairpins are as flat as blades, so they are also called “three knives.” Since Fuzhou, a city on China’s southeast coast, was infested with pirates during the Ming and Qing dynasties, some believe females used hairpins both as a decoration and a self-defense weapon at that time.
This represents women’s bravery, flexibility, and patriotism. After centuries, it has evolved into a symbol of their love for the country, family, and self, and resonates with the city’s ethos.
The vintage adornment has gained popularity in modern days. Relevant articles and videos on social media have mushroomed at home and abroad, with over 600 million views. In ancient towns and alleys across the country, it is not uncommon to see tourists wearing three hairpins for photogenic moments.
Now that citizens from eligible countries can enjoy 240-hour visa-free transit at Fuzhou Changle International Airport, why not embark on your own cultural journey in Fuzhou?