27.9 C
Bangkok
Thursday, January 2, 2025
010
002
previous arrow
next arrow

ราคาน้ำมันดิบลดลงจากการเจรจาในฉนวนกาซาคืบหน้า

ปตท. เผยผลการสถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 19 – 23 ส.ค. 67 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 26 – 30 ส.ค. 67 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 77.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -3.26 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปของ เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 73.46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -4.58 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 76.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -2.82 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -3.26 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 87.29 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง -4.59 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 90.17 เหรียญสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลงจากการเจรจาในฉนวนกาซาคืบหน้า

* การเจรจาหยุดยิงในฉนวน Gaza ที่กรุง Cairo ในอียิปต์ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลง เนื่องจากกลุ่ม Hamas และอิสราเอลต่างไม่ยอมประนีประนอมตามข้อเสนอของผู้ไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ระบุว่าการเจรจาครั้งนี้มีความคืบหน้าและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ อาจสามารถบรรลุข้อตกลงได้

* อิสราเอลและกลุ่ม Hezbollah ยิงตอบโต้กันอย่างหนักที่สุดตั้งแต่สงครามในฉนวนกาซาเริ่มต้นขึ้น ล่าสุด Reuters รายงานวันที่ 25 ส.ค. 67 กลุ่ม Hezbollah ได้ยิงมิสไซล์และโดรนมากกว่า 200 ลูก โจมตีอิสราเอล เพื่อตอบโต้ที่กองทัพอิสราเอลสังหารผู้บัญชาการทหารระดับสูง Fuad Shukr เมื่อ 30 ก.ค. 67 ในกรุง Beirut ของเลบานอน ด้านอิสราเอลได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน 48 ชั่วโมงทั่วประเทศ ตั้งแต่ 25 ส.ค. 67 เวลา 6.00 น. หลังมีรายงานของเสียงสัญญานเตือนภัยขีปนาวุธมุ่งหน้าเข้ามา

* 23 ส.ค. 67 ที่การประชุม Jackson Hole Economic Policy Symposium เมือง Jackson Hole รัฐ Wyoming ในสหรัฐฯ ประธาน Fed นาย Jerome Powell กล่าวสุนทรพจน์ว่าจะปรับนโยบายอัตราดอกเบี้ย แต่ปฏิเสธที่จะระบุชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และแสดงความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะเข้าสู่เป้าหมายของ Fed ที่ 2% YoY ทั้งนี้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) จะมีขึ้นในวันที่ 17-18 ก.ย. 67

* รัฐบาลอิรักและคาซัคสถาน ส่งหนังสือตกลงลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ส.ค. 67 – ก.ย. 68 เพื่อชดเชยการผลิตที่เกินโควตาในเดือน ม.ค.-ก.ค. 67 ซึ่งอิรักและคาซัคสถานมีปริมาณผลิตเกินโควตาสะสม (Cumulative Overproduction) อยู่ที่ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ ทำให้อิรักและคาซัคสถานต้องลดปริมาณการผลิตให้ต่ำกว่าโควตาอีกอย่างน้อย 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ 0.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค. 67 อิรักผลิตอยู่ที่ 4.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน (โควตาอยู่ที่ 3.93 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และคาซัคสถานผลิตอยู่ที่ 1.55 ล้านบาร์เรลต่อวัน (โควตาอยู่ที่ 1.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน)

Related Articles

Stay Connected

22,878FansLike
3,912FollowersFollow
22,200SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles