ปตท. เผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์ที่ 12-16 ก.ค.64 และคาดการณ์สัปดาห์ที่ 19-23 ก.ค.64 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 74.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -0.27 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 73.19 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -0.08 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 73.39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -0.08 เหรียฐสหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -0.85 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 85.54 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลปรับราคาลดลง -0.04 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 80.29 เหรียญสหรัฐฯ
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
* รายงานฉบับเดือน ก.ค.64 ของ IEA ประมาณการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.39 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 96.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ปรับเพิ่มขึ้น 60,000 บาร์เรลต่อวัน จากคาดการณ์เดือนก่อนหน้า)
* EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 ก.ค. 64 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 7.9 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 437.6 ล้านบาร์เรล ขณะที่ปริมาณสำรองที่ Cushing รัฐ Oklahoma เป็นจุดส่งมอบน้ำมันดิบ WTI ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 38.1 ล้านบาร์เรล
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
* อุปสงค์น้ำมันยังได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta ที่กำลังระบาดรุนแรงในหลายประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลให้หลายประเทศจำเป็นต้องใช้มาตรการ Lockdown
* Baker Hughes Inc. รายงานจำนวน Rig ขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 ก.ค.64 เพิ่มขึ้น 2 แท่น จากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 380 แท่น สูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย.64
แนวโน้มราคาน้ำมัน
ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์ทางเทคนิคราคาน้ำมันดิบ ICE Brent สัปดาห์นี้อยู่ระหว่าง 71-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากอุปทานน้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 หลัง OPEC+ ซึ่งการประชุม 18 ก.ค.64 มีมติปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเดือนละ 400,000 บาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ส.ค.-ธ.ค.64 ปริมาณรวม 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และขยายเวลามาตรการลดผลิตน้ำมันดิบที่จะสิ้นสุดลงเดือน เม.ย.65 ออกไปเป็นเดือน ธ.ค.65
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติปรับ Production Baseline ตั้งแต่ พ.ค.65 เป็นต้นไป ให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย คูเวตและอิรัก ซึ่ง OPEC+ จะผลิตเพิ่มขึ้นรวม 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นอาจนำไปสู่การ Lockdown ในหลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน