25.5 C
Bangkok
Monday, December 23, 2024
010
002
previous arrow
next arrow

COTTO ต้อนรับว่าที่สถาปนิกใหม่ พร้อมเชื่อมต่อแนวคิดออกแบบบ้านรับวิถีชีวิตใหม่

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ตลอดระยะเวลา 34 ที่ผ่านมา นับเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญ ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงในแทบทุกบริบทของสังคม โดยเฉพาะพฤติกรรม ความเป็นอยู่ มุมมอง แนวคิดที่ถูกกระตุ้น จนทำให้เกิดนิยมของคำว่า วิถีชีวิตแนวใหม่ หรือ New Normal ที่ถูกพูดถึงมาอย่างต่อเนื่อง

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ลักษณะของบ้านที่เป็นที่ต้องการ หรือสามารถตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ หรือการใช้พื้นที่ตามวิถีการดำรงชีวิตแนวใหม่ ที่มีให้เห็นตั้งแต่การปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรูปแบบของ Work From Home ในระยะต้น จนถึงงานออกแบบสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะ ที่พักอาศัย ในนิยามใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม

แน่นอนว่าการพัฒนางานออกแบบใหม่ ด้วยเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สถาปนิกยุค New Normal นอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับเกณฑ์ออกแบบใหม่ที่สัมพันธ์กับไลฟสไตล์ใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปการเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการ หรือนวัตกรรมใหม่ของวัสดุตกแต่งบ้าน เพื่อนำมาสร้างสรร หรือตอบโจทย์การออกแบบ ก็มีความสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน 

จากการเปิดเผยของอาจารย์สรเชษฐ์ ชลประเสริฐ ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความเห็นที่น่าสนใจถึงความเปลี่ยนแปลงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่า “ในแง่การออกแบบสถาปัตยกรรมน่าจะมีผลเรื่องของการกลับมาโฟกัสเรื่องของ Private Space ที่มีความสำคัญขึ้นและมีคำจำกัดความที่เปลี่ยนแปลงไปกว่าเมื่อก่อนที่เราจะให้ความสำคัญในหน้าตารูปลักษณ์ของ Public Space หรือหน้าร้านเป็นหลัก ดังนั้นสิ่งน่าสนใจในเรื่องไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป คือ การออกแบบพื้นที่ที่จะเชื่อมชีวิตทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน รองรับความยืดหยุ่นของการใช้งานที่ลื่นไหลและหลากหลายด้านประโยชน์ใช้สอย

จากการที่ได้ใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้นกว่าเดิมของคนเมือง ที่เมื่อก่อนอาจจะเป็นแค่ Resting Place เพื่อให้มีแรงออกไปต่อสู้ชีวิตประจำวันต่อไปได้นั้น คงมี Dynamicเปลี่ยนไป คือ มีทั้งส่วนที่ Passive และ ส่วนที่Active ของกิจกรรมของผู้อยู่อาศัย Common Area ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ถูกเรียกว่าห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าวแบบเมื่อก่อนอีกต่อไป แต่เป็น Sharing Space สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันของคนในบ้านซึ่งในส่วนของพัฒนาการของวัสดุตกแต่งในประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ คำนึงถึงผลกระทบในแง่ของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทางการก่อสร้างมากขึ้น”อาจารยกล่าวและเพิ่มเติมว่า

“อย่างไรก็ดี นิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ที่เป็นGen-Z  ซึ่งสังเกตได้ว่าเป็นคนกลุ่มคนที่มองเรื่องอิสรภาพและทางเลือกในการใช้ชีวิตเป็นเรื่องสำคัญกว่าคนรุ่นก่อนมาก  ประเด็นที่พวกเค้าสนใจในช่วงหลัง ๆ จะเป็นเรื่องของ Work-Life Balance ที่ไม่ได้เป็น Routine แบบเรา ๆ ซึ่งน่าสนใจ การเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ได้เข้าเยี่ยมชมและเข้าถึงนวัตกรรมของวัสดุตกแต่งจากผู้ผลิตชั้นนำ จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีความหลากหลาย และเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้นด้วย” 

“การจัดกิจกรรมการเปิดบ้านของ COTTO ต้อนรับสถาบันการศึกษาชั้นนำที่ให้ความสนใจพานิสิต นักศึกษาทยอยกันเข้ามาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อเชื่อมต่อแนวคิด ให้เข้าถึงนวัตกรรมการพัฒนาวัสดุตกแต่งอันนำสมัยทั้งคุณสมบัติที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์  และความสวยงามที่ตอบสนองทุกสไตล์การตกแต่งได้อย่างลงตัวของบ้านในทศวรรษใหม่ พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดของบรรดานิสิต นักศึกษา ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไปด้วยกัน ด้วยคอตโต้ให้ความสำคัญในการศึกษาพฤติกรรม ความต้องการของผู้ใช้งาน ให้สอดรับกับเทรนด์ผู้บริโภคเป็นหลักสำคัญ” นายปราปต์ พึ่งรัศมี Marketing Manager แบรนด์ COTTO กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และเพิ่มเติมว่า

“ด้วยศักยภาพของแบรนด์ COTTO ในฐานะ Trendsetters ผู้นำวัสดุตกแต่งที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค และได้รับความเชื่อมั่นมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนานวัตกรรมใหม่ของวัสดุตกแต่งบ้าน ๆ ให้สอดรับกับบริบทความเปลี่ยนแปลง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนคืนกลับให้สังคม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงดีไซน์สวยงามเพียงอย่างเดียว หากยังเป็นการผสานเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นการใช้งานของผู้บริโภค ส่งผลให้แบรนด์คอตโต้มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น HYGIENIC TILE กระเบื้องยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย, AIR ION กระเบื้องฟอกอากาศ ที่สามารถดักจับฝุ่น PM 2.5 หรือกระเบื้องในกลุ่ม ECO Collection ในกลุ่มเทรนด์สินค้าที่ดีต่อโลก รักษ์โลก สิ่งแวดล้อมและกลุ่มสุขภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปลักษณ์ สีสัน ลวดลายของวัสดุ หรือฟังก์ชันที่น่าสนใจของสินค้าพร้อม เติมเต็มความหลากหลายทางเทคโนโลยีที่ให้ตอบโจทย์การใช้งานในวิถีชีวิตแนวใหม่  ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ที่ลดการสัมผัส รวมถึงสามารถ flush ชำระล้างอัตโนมัติเมื่อกิจกรรมเสร็จสิ้น ซึ่งน่าจะช่วยให้นิสิต นักศึกษาที่เข้ามาเยี่ยมชม และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของคอตโต้ ในครั้งนี้ จะได้รับข้อมูลข่าวสารของนวัตกรรมวัสดุใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง” 

นายณัฏฐ์ เจนสิราสุรัชต์ Technical Services Manager ผู้ดูแลโครงการหน่วยงานให้ความรู้แก่นิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ ความหมายของบ้าน ในยุคสมัยใหม่ มีความหลากหลาย มากกว่าแค่ที่พักอาศัยแน่นอนว่า เทรนด์ของงานออกแบบที่จะเกิดขึ้น จะต้องตอบโจทย์ในยุค New Normal ที่วิถีแนวใหม่มุ่งให้ความสำคัญต่อการใช้พื้นที่ แบบ Mix User หรือ Multifunctional Home ที่ตอบโจทย์ความต้องการของชีวิตอย่างรอบด้าน ความท้าทายในงานออกแบบยุคใหม่ จึงน่าจะเป็นผสมผสานวัสดุตกแต่ง ให้เข้ากับฟังก์ชั่นการใช้งานผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้นำมาต่อยอด ปรับใช้หรือเพิ่มลูกเล่นให้กับสเปซและตัวอาคารได้ การเปิดเวทีให้นักออกแบบได้พบปะและเปลี่ยนกับผู้ผลิตวัสดุ ซึ่งนอกจากจะได้เข้าใจถึงนวัตกรรมวัสดุตกแต่ง ที่คอตโต้ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาให้นักออกแบบมีคลังความรู้ และเข้าถึงวัสดุที่ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตลของผู้บริโภคแนวใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างสรรงานออกแบบ บ้านที่ดีที่สุดให้ลูกค้าด้วยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ COTTO ภายใต้ SCG Decor ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัสดุรูปแบบใหม่ ทั้งกระเบื้องเซรามิก และสุขภัณฑ์ ด้วยการผสานทิศทางของเทรนด์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทที่หลากหลาย โดยไม่ยึดติดกับมุมมองหรือรูปแบบเดิม ๆ  เพื่อตอบสนองสถาปนิกผู้สร้างงานทุกเจนเนอเรชั่น โดยเฉพาะนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ESG เพื่อส่งมอบโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นต่อไป”

สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของวัสดุตกแต่งภายใต้แบรนด์ COTTO สามารถติดต่อมาได้ที่ COTTO Life  Call Center 020805665 EMail : admin.cottolife@scg.com หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cotto.com / Facebook YouTube Instagram Line official: cottoofficial และชมสินค้าได้ที่ COTTO Life ทั้ง 3 สาขา กรุงเทพ เชียงใหม่ ขอนแก่น

Related Articles

Stay Connected

22,878FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles