ปตท. รายงานผลวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 29 พ.ย.- 3 ธ.ค.64 และแนวโน้ม 6-10 ธ.ค.64 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 70.22 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -9.62 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 66.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -8.56 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 71.59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดลง -7.90 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -7.43 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 82.73 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง -7.54 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 81.37 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 จากความกังวลต่อการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรม และความต้องการใช้น้ำมัน โดย Platts คาดการณ์ว่าการแพร่ระบาดระลอกใหม่นี้อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันโลกในปี 2565 ให้เพิ่มขึ้นเพียง 2.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า ลดลง 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 4.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน
Goldman Sachs ปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของสหรัฐฯ ในปี 2565 อยู่ที่ 3.8% จากปีก่อนหน้า จากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 4.2% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron จะทำให้เศรษฐกิจพื้นตัวช้าลง
อย่างไรก็ตาม Anthony Fauci ที่ปรึกษาด้านโรคระบาดของรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยว่า COVID-19 สายพันธุ์ Omicron อาจมีอันตรายน้อยกว่าสายพันธุ์ Delta ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก่อนจะยืนยันข้อสรุปดังกล่าว
ทั้งนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (The United States Centers for Disease Control and Prevention: CDC) ของสหรัฐฯ รายงาน 6 ธ.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ใน 16 รัฐ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง
ติดตามการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ (Joint Comprehensive Plan of Action: JCPOA) ระหว่างอิหร่านและชาติมหาอำนาจ P5+1 (สหรัฐฯ, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, จีน และเยอรมนี) ในรอบที่ 7 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 64 ยุติลงโดยไม่บรรลุข้อตกลง ทั้งนี้ Antony Blinken รมว. กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวว่า อิหร่านไม่จริงจังกับการกลับมาปฏิบัติตาม JCPOA โดยการเจรจาครั้งถัดไปจะมีขึ้นในวันที่ 8 ธ.ค. 64 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทั้งนี้ Reuters รายงาน อิหร่านผลิตน้ำมันดิบในเดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ 2.48 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยอิหร่านจะสามารถผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นสู่ระดับก่อนถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร ที่ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ
ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ราคา ICE Brent มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 69 – 77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีโอกาสที่ ICE Brent จะขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ คือ 73.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 26 พ.ย. 64 ลดลง 0.9 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 433.1 ล้านบาร์เรล (นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า)
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
ที่ประชุม OPEC+ มีมติเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. 65 ที่ระดับ 400,000 บาร์เรลต่อวัน แม้ได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากประเทศผู้บริโภค โดยเฉพาะสหรัฐฯ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร ที่ประกาศระบายน้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณรวม 80 ล้านบาร์เรล